คนรุ่นใหม่ทำไม..ต้องกลับบ้าน
หลายคนต่างตั้งคำถามต่อโครงสร้างประเทศ ตั้งแต่การขุดรากลึกลงไปในระบบขั้นพื้นฐาน ไปจนถึงภาพรวมใหญ่ๆ ของการบริหารประเทศของรัฐบาล การที่คนรุ่นใหม่ลุกฮือขึ้นมาศึกษา ตั้งคำถาม และหาคำตอบที่จะนำไปสู่การพัฒนาประเทศของเราให้ดีขึ้นนั้น นับเป็นความกล้าหาญที่น่าจับตามอง แม้ว่าความท้าทายที่เกิดขึ้นในหลายๆครั้ง ดูเหมือนจะเป็นการต่อสู้ที่ยืดเยื้อยาวนาน แต่มันคือความหวังที่ทุกคนอยากเห็นการเปลี่ยนแปลง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน
การมีชีวิตในชุมชนก็เหมือนกัน จากผลกระทบการพัฒนาที่กระจุกตัว ส่งผลโดยตรงกับชุมชน หรือเพื่อนๆคนรุ่นใหม่ที่ดำเนินชีวิตในฐานชนบท ต่างพื้นที่ ต่างเอกลักษณ์เฉพาะกันไป เราปฏิเสธไม่ได้ถ้าไม่พูดถึงเรื่องอาชีพ รายได้ ที่เอื้อต่อความคิด ความฝัน ที่นำพาเพื่อสร้างการเติบโตในท้องถิ่น เพื่อ “อยู่(ให้)รอด” ไม่เพียงพอ และทั่วถึง
หลายคนกลับบ้านแล้ว หรือพึ่งกลับ ล้วนต่างนำศักยภาพกลับมาด้วย เพื่อเชื่อมต้นทุนเดิมที่มีของตัวเอง ต้นทุนชุมชน สร้างฐานยังชีพจากสิ่งเดิม ก่อเกิดสิ่งใหม่ในชุมชน มีบทบาท เกิดการมีส่วนร่วมที่ดีในชุมชน ทั้งนี้ก็ไม่ใช่ทุกคนเสมอไปที่จะผ่านบทเรียนเหล่านี้ไปได้ง่ายๆ เพราะต้องต่อสู้กับความคิด ความเชื่อ และทัศนคติของความเป็นชุมชน เพื่อสร้างการยอมรับให้เกิดขึ้น
สถานการณ์โควิด-19 เป็นหนึ่งในฉนวนเร่งที่ดี ที่ทำให้การตัดสินใจกลับไปฐานชุมชนเมื่อเราพร้อม เพื่อตั้งหลัก บางคนตั้งใจปักหลัก และอยู่ให้ได้
เชื่อว่าการกลับบ้านมันไม่ง่าย แต่หากกลับแล้ว
คุณมีความฝัน แล้วอยากเห็นชุมชนภายใต้การกลับไปของเราเป็นยังไง ?